คราวนี้ขอเอาความรู้มาคืนให้กับบ้านหลังนี้บ้างนะครับ
ไอเดียนี้บรรเจิดขึ้นมาได้ก็เพราะกระทู้ขาย Card LAN ของคุณ
SuperMENG2000 ครับ (พอดีสั่งซื้อมา 7 ตัว อิอิ)
และต้องขอขอบคุณ คุณ genoa ที่ทำให้ได้ไอเดียนี้ขึ้นมา
คือคุณ genoa บอกว่าถ้าเปลี่ยน Card LAN รุ่นเดียวกันต้องเปลี่ยน MAC Address ถึงจะ boot
ได้ ผมก็เลยปิ๊งขึ้นมาว่าถ้าเป็นคนละรุ่นกันล่ะ หรือถ้า LAN
Onboard หรือ Card LAN อิ่นๆ
ที่เราใส่เข้าไปมันเสียขึ้นมาล่ะ เราจะทำอย่างไร หรือมีวิธีการอย่างไรให้เปลี่ยน Card
LAN ได้โดยไม่ต้องลง Windows ใหม่ หรือ
ต้องต่อ HDD Master ใหม่ (เพราะผมก็ไม่ได้เก็บ HDD
Master ไว้ซะด้วยสิ)
ก่อนอื่นต้องเตรียม Network Card ที่จะเปลี่ยนครับ แล้วก็ Client ตัวที่ต้องการจะเปลี่ยน (ถ้าต้องการเปลี่ยนกับ Client ตัวที่เสียให้หา Client ตัวที่สเปคเดียวกันมาทำนะครับ) ส่วนของผมทำโดยสมมติว่า Card LAN ตัวที่ใส่ใหม่มันเสีย ต้องการใช้ Onboard (10/100) แทน ให้พอใช้งานไปได้ก่อน
วิธีเปลี่ยนมีดังนี้ (ขออภัยที่ไม่มีภาพประกอบนะครับ) ถ้าไม่เข้าใจตรงไหนก็สอบถามได้นะครับ
Mainboard ที่ใช้ทดสอบ ASUS M2N68-AM SE2 LAN Onboard, LAN Intel PRO 1000/MT
Server VXP 5.0
1. ก่อนอื่นเลยต้องทำ Hardware Profile ก่อนครับ ดูวิธีทำได้จากกระทู้นี้ครับ http://www.linuxthai.org/forum/index.php?topic=9739.0 โดยทำที่ Client เครื่องไหนก็ได้ ส่วนใครที่มีหลายสเปคอยู่แล้วก็ CopyHW ต่อๆ กันไปเลยก็ได้ เช่น ทำไว้ 001 002 003 ก็ทำ 004 ต่อไปเลยครับ
2. ใส่ Network Card ตัวที่ต้องการเปลี่ยนเข้าไปในเครื่อง Client เอาสาย LAN อีกเส้นมาเสียบไว้ด้วยนะครับ
3. เปิดเครื่องเข้า Windows ลง Driver LAN ตัวใหม่ ให้เรียบร้อย
4. ตั้ง IP ของ LAN ตัวใหม่เป็นอะไรก็ได้ แนะนำเป็น IP ของเครื่องที่ไม่ได้เปิดอยู่นะครับ (ยังไม่เคยลองแบบไม่ตั้ง IP นะครับ) วิธีดูว่าอันไหน LAN ใหม่ ดูตรง Local Area Connection จะมีตัวเลขต่อท้าย เลขที่มากกว่าจะเป็นอันใหม่ ยกเว้นเราเคยลง LAN รุ่นเดียวกันกับตัวเก่ามันจะใช้เลขตัวเดิม
5. เปิด Properties ของ LAN ตัวใหม่ (คลิกขวาตรง Local Area Connection) ที่แทบ Support คลิกปุ่ม Details... แล้วจดค่า Physical Address ไว้นะครับ มันก็คือค่า MAC Address นั่นเอง
6. เปิด LanPNP.exe ขึ้นมา แล้วเปลี่ยนค่า Local Area Connection ให้เป็นของ LAN ตัวใหม่
7. อัพ img โดยติ๊กให้อัพเฉพาะ Driver เข้าไป Profile สเปคใหม่ที่สร้างไว้
8. เปลี่ยน MAC + HW Config ที่ Server เป็นของ Card Lan ตัวใหม่
9. ปิด Lan ตัวเก่า แล้วทดลอง Boot ด้วย Lan ตัวใหม่ได้เลยครับ
ปล1. กรุณา Backup img ไว้ก่อนเนะครับ
ปล2. คนที่มีหลายสเปค หลังจากทำขั้นตอนที่ 3 แล้วให้อัพ Img เฉพาะ Driver เข้า สเปคใหม่ก่อนเลยนะครับ แล้วตั้ง HW Config ให้ boot จาก Profile ตัวใหม่ก่อน แล้วค่อยทำขั้นตอนที่ 4 เพราะมันจะมีผลทำให้ boot สเปคอื่นๆ ไม่ได้
ก่อนอื่นต้องเตรียม Network Card ที่จะเปลี่ยนครับ แล้วก็ Client ตัวที่ต้องการจะเปลี่ยน (ถ้าต้องการเปลี่ยนกับ Client ตัวที่เสียให้หา Client ตัวที่สเปคเดียวกันมาทำนะครับ) ส่วนของผมทำโดยสมมติว่า Card LAN ตัวที่ใส่ใหม่มันเสีย ต้องการใช้ Onboard (10/100) แทน ให้พอใช้งานไปได้ก่อน
วิธีเปลี่ยนมีดังนี้ (ขออภัยที่ไม่มีภาพประกอบนะครับ) ถ้าไม่เข้าใจตรงไหนก็สอบถามได้นะครับ
Mainboard ที่ใช้ทดสอบ ASUS M2N68-AM SE2 LAN Onboard, LAN Intel PRO 1000/MT
Server VXP 5.0
1. ก่อนอื่นเลยต้องทำ Hardware Profile ก่อนครับ ดูวิธีทำได้จากกระทู้นี้ครับ http://www.linuxthai.org/forum/index.php?topic=9739.0 โดยทำที่ Client เครื่องไหนก็ได้ ส่วนใครที่มีหลายสเปคอยู่แล้วก็ CopyHW ต่อๆ กันไปเลยก็ได้ เช่น ทำไว้ 001 002 003 ก็ทำ 004 ต่อไปเลยครับ
2. ใส่ Network Card ตัวที่ต้องการเปลี่ยนเข้าไปในเครื่อง Client เอาสาย LAN อีกเส้นมาเสียบไว้ด้วยนะครับ
3. เปิดเครื่องเข้า Windows ลง Driver LAN ตัวใหม่ ให้เรียบร้อย
4. ตั้ง IP ของ LAN ตัวใหม่เป็นอะไรก็ได้ แนะนำเป็น IP ของเครื่องที่ไม่ได้เปิดอยู่นะครับ (ยังไม่เคยลองแบบไม่ตั้ง IP นะครับ) วิธีดูว่าอันไหน LAN ใหม่ ดูตรง Local Area Connection จะมีตัวเลขต่อท้าย เลขที่มากกว่าจะเป็นอันใหม่ ยกเว้นเราเคยลง LAN รุ่นเดียวกันกับตัวเก่ามันจะใช้เลขตัวเดิม
5. เปิด Properties ของ LAN ตัวใหม่ (คลิกขวาตรง Local Area Connection) ที่แทบ Support คลิกปุ่ม Details... แล้วจดค่า Physical Address ไว้นะครับ มันก็คือค่า MAC Address นั่นเอง
6. เปิด LanPNP.exe ขึ้นมา แล้วเปลี่ยนค่า Local Area Connection ให้เป็นของ LAN ตัวใหม่
7. อัพ img โดยติ๊กให้อัพเฉพาะ Driver เข้าไป Profile สเปคใหม่ที่สร้างไว้
8. เปลี่ยน MAC + HW Config ที่ Server เป็นของ Card Lan ตัวใหม่
9. ปิด Lan ตัวเก่า แล้วทดลอง Boot ด้วย Lan ตัวใหม่ได้เลยครับ
ปล1. กรุณา Backup img ไว้ก่อนเนะครับ
ปล2. คนที่มีหลายสเปค หลังจากทำขั้นตอนที่ 3 แล้วให้อัพ Img เฉพาะ Driver เข้า สเปคใหม่ก่อนเลยนะครับ แล้วตั้ง HW Config ให้ boot จาก Profile ตัวใหม่ก่อน แล้วค่อยทำขั้นตอนที่ 4 เพราะมันจะมีผลทำให้ boot สเปคอื่นๆ ไม่ได้